Balance Scorecard (BSC) และการพัฒนาวัตถุประสงค์ธุรกิจ
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิตการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม, บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รูปประกอบ 1 ตัวอย่าง Strategy Map
Balance Scorecard (BSC) และการพัฒนาวัตถุประสงค์ธุรกิจ
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
องค์กรจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ธุรกิจที่ชัดเจนเพื่อให้ทราบเป้าหมายการขยับขององค์กร และจึงเลือกกลยุทธ์เข้ามาเพื่อให้สามารถตอบเป้าหมายขององค์กร (ที่วัดได้ มีเป้าหมายเชิงตัวเลข และมีกรอบเวลามากำหนดชัดเจน)
แนวคิดสำคัญ: วัตถุประสงค์ธุรกิจจะแบ่งออกเป็นด้าน 'วัตถุประสงค์ด้านการเงิน' และ 'วัตถุประสงค์ด้านกลยุทธ์' เครื่องมืออย่างง่ายที่นำมาใช้ในการพัฒนาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ถูกเรียกว่า "Balance Scorecard (BSC)" ซึ่งจะแบ่งเป็น 4 มิติ คือ ด้านการเรียนรู้ กระบวนการ การพัฒนาธุรกิจและการตอบสนองต่อลูกค้า และด้านการเงิน โดยมีตัวอย่างดังนี้
ด้านการเงิน ได้แก่ การเพิ่มเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น (บาทต่อหุ้น/ร้อยละต่อราคาหุ้น) ร้อยละของผลตอบแทนจากการลงทุน อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิ รายได้รวม การลดต้นทุน (ร้อยละต่อรายได้)
ด้านลูกค้า ได้แก่ ขนาดของตลาดเป้าหมายที่สามารถเข้าถึงได้ (บาท/จำนวน) ระดับความทั่นใจต่อสินค้าหรือบริการ ร้อยละของตลาดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ต้นทุนลูกค้าเชิงเปรียบเทียบ อัตราความสำเร็จในการออกสินค้าใหม่ในตลาด การเพิ่มขึ้นของคู่ค้าในตลาดต่างประเทศ
ด้านกระบวนการ ได้แก่ ร้อยละของประสิทธิภาพของกระบวนการในการ ตรวจสอบสินค้าเข้า การเคลื่อนย้ายสินค้าในโกดัง การลดการสูญเสียในระบบ การลดการหมุนเวียนของพนักงาน ความเที่ยงตรงของสินค้าคงคลัง การลดอุบัติเหตุหน้างาน การลดต้นทุนตรวจสอบคุณภาพสินค้า ความรวดเร็วของกระบวนการตัดสินใจ การจัดส่งสินค้าที่ตรงต่อเวลา
ด้านการเรียนรู้และเติบโต ได้แก่ การลงทุนเพิ่มในทรัพย์สินในการดำเนินการ (เช่น ระบบสารสนเทศ อุปกรณ์ เครื่องจักร) การเพิ่มทักษะพนักงาน การซื้อหรือพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หรือการรักษาหรือเพิ่มพนักงานที่มีคุณค่า
หมายเหตุ: การคิดเรื่องการเติบโตนั้นให้ลองตั้งคำถามว่า 'เราต้องรู้ ต้องสามารถ และมีทรัพยากรอะไรบ้างถึงทำให้กระบวนการดำเนินการทำได้ดี?' การพิเคราะห์เรื่องกระบวนการภายในให้ตั้งคำถามว่า 'เราต้องพัฒนาหรือปรับกระบวนการอย่างไรเพื่อตอบสนองคุณค่าที่ลูกค้าต้องการที่ได้รับจากสินค้าหรือบริการ' การวิเคราะห์เรื่องลูกค้าให้ตั้งคำถามว่า 'ใครเป็นลูกค้าและคุณค่าที่เขาต้องการได้จากสินค้าหรือบริการของบริษัทคืออะไร?' การพิเคราะห์เรื่องการเงินให้ตั้งคำถามว่า 'ผู้ถือหุ่้นและผู้มีส่วนได้เสียต้องการอะไร?'
การตรวจสอบความถูกต้องของการพัฒนาวัตถุประสงค์ธุรกิจโดยใช้เครื่องมือ Balance Scorecard นั้น อาจดำเนินการโดยการใช้เครื่องมือย่อยที่ชื่อว่า Strategy map โดยมีลักษณะตามรูปประกอบ
______________________________________________________________________________________
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
เรื่องที่น่าสนใจอื่น