การวิเคราะห์ 'ห่วงโซ่คุณค่า' เพื่อพัฒนาองค์กร
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิตการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม, บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การวิเคราะห์ 'ห่วงโซ่คุณค่า' เพื่อพัฒนาองค์กร
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ห่วงโซ่คุณค่า เป็นการออกแบบกิจกรรมภายในองค์กรเพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร โดยเป้าหมายในการออกแบบนี้เพื่อให้เห็นถึงการสร้างคุณค่าของสินค้ามากกว่าต้นทุนการดำเนินการ และแนวทางในการจัดการต้นทุนเพื่อให้สินค้าหรือบริการมีมูลค่าสูงขึ้นภายใต้เงื่อนไขของ 'การส่งมอบคุณค่าที่เหมาะสมแกลูกค้า' ห่วงโซ่คุณค่าแบ่งออกเป็น สามส่วนได้แก่ กิจกรรมหลัก กิจกรรมสนับสนุน และมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถอธิบายองค์ประกอบได้ดังนี้
โลจิสติกส์ขาเข้า เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมปัจจัยนำเข้าในการผลิตหรือดำเนินการ ซึ่งได้แก่ การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การรับสินค้าเข้า การจัดเก็บวัตถุดิบ และจัดการพื้นที่เก็บวัตถุดิบ การถือครองสินค้า การจัดการตารางวัตถุดิบเข้า รวมถึงการตีกลับหรือติดตามวัตถุดิบคงค้างการจัดส่งหรือส่งคืน
การผลิต/การดำเนินการ เป็นกระบวนการในการแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิต การขึ้นสานการผลิน การตรวจสอบคุณภาพ การจัดการอุปกร์การผลิต และการซ่อมบำรุงสายการผลิต รวมถึงกิจกรรมด้านการเก็บข้อมูลเพื่อการคิดตามหรือตรวจสอบย้อนกลับ
โลจิสติกส์ขาออก เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้าสำเร็จ การเคลื่อนที่ของสินค้าในพื้นที่เก็บ การบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่ง การเตรียมการนำสินค้าขึ้นเพื่อจัดส่ง การวางแผนพื้นที่กระจายสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า การขนส่ง และการจัดการคำสั่งซื้อลูกค้า
การตลาดและการขาย เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริทให้กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดรู้จัก สร้างความต้องการสินค้า นำสินค้าให้เข้าถึงลูกค้า และการกำหนดคุณค่าของสินค้าบริการในรูปแบบของราคา รวมถึงการรับคำสั่งซื้อและการจัดการคำสั่งซื้อ และการประสานงานด้านการผลิตและดำเนินการ
การให้บริการ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า เช่น การสนับสนุนการขาย ด้านการอบรมการใช้งาน การซ่อมบำรุง การอบรมลูกค้า การปรับแต่งสินค้า และการจัดเก็บส่วนประกอบสินค้าสำหรับการบริการ (ส่วนของการรับประกัน)
การจัดซื้อจัดหา เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วัตถุดิบ อุปกรณ์ สินค้าสิ้นเปลืองต่าง (ในส่วนนี้จะสนับสนุนทั้งองค์กรไม่เฉพาะกับการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตเท่านั้น)
การพัฒนาเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่พัฒนาด้าน 'สินค้า' และ 'กระบวนการ' ในองค์กร
การจัดการบุคคลากร เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการระบุสมรรถนะ การจัดหาพนักงาน การเลิกจ้าง การพัฒนาพนักงาน และการจ่ายค่าตอบแทน หลายองค์กรจำเป็นต้องมีการจัดหาหนักงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความได้เปรียบองค์กรในมิติต่างๆ
โครงสร้างพื้นฐานองค์กร ประกอบด้วยกิจกรรมด้านการวางแผน การวางกลยุทธ์ การเงิน บัญชี กฎหมาย รัฐกิจสัมพันธ์ และการตรวจสอบ
หลังจากเข้าใจความหมายของแต่ละตัวพร้อมตัววัดประเมิน คราวนี้ถึงทุกท่านลองพิเคราะห์ตามคำถามชวนคิดตรงนี้ (เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรท่าน)
ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรท่าน โดยเฉพาะส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมมีปัญหาใดๆ หรือไม่?
จากผลประกอบการทางการเงินที่องค์กรของท่านมีกำไรเบื้องต้นอยู่ที่ร้อยละ () และกำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ ()
คุณมองว่าในสายงานของท่านในอุดมคติต้องปรับตรงไหน?และคุณคิดว่ากลยุทธ์ที่เปลี่ยนไปจะต้องมีการปรับมิติต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานหรือไม่?
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
______________________________________________________________________________________
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
เรื่องที่น่าสนใจอื่น